วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ "จดหมายลูกโซ่"


                               สื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทล้วนมีอิทธิพลต่อชุมชนและสังคมไทยทั้งนั้น แต่จะมีอิทธิพลมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่ที่ความน่าสนใจหรือแรงจูงใจของสื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆ
                               “จดหมายลูกโซ่” เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อคนไทยอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เพราะจดหมายประเภทนี้มักจะเขียนให้คนเชื่อในเรื่องราวที่งมงายไร้สาระ เนื้อความในจดหมายส่วนใหญ่จะเป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆ และจะกำหนดเงื่อนไขไว้ให้ผู้ที่ได้รับจดหมายทำตาม เช่น ให้เขียนหรือถ่ายสำเนาส่งต่อๆไปอีก 9, 19, 29 ฉบับ (จำนวนขึ้นอยู่ที่ในจดหมายระบุ) ถ้าไม่ทำตามที่จดหมายบอกจะพบเจอแต่เรื่องที่โชคร้าย หรืออาจทำให้มีอันเป็นไปถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ถ้าทำตามจะร่ำรวย ถูกหวยรางวัลที่1, 2 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเนื้อความในจดหมายจะเขียนไปในทางขู่ให้กลัว โดยใช้ความตายมาเป็นเครื่องต่อรอง ซึ่งคนเราทุกคนกลัวความตายกันอยู่แล้ว นี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนที่ได้รับจดหมายลูกโซ่ ส่งจดหมายนั้นๆ ต่อไปเป็นทอดๆ สมัยก่อนรูปแบบของจดหมายลูกโซ่จะเป็นกระดาษธรรมดา โดยใช้วิธีการเขียนคัดลอกหรือถ่ายสำเนาแล้วก็ส่งไปตามบ้าน, ที่ทำงาน, โรงเรียนหรือที่อื่นๆ ตามแต่ผู้เขียนจะส่งไป แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคนเรามากขึ้น จึงทำให้รูปแบบของจดหมายลูกโซ่เปลี่ยนไป คือจากจดหมายที่เขียนด้วยกระดาษธรรมดาๆ กลายเป็นการส่งตามอีเมล์ ,เฟสบุ๊ค หรือเขียนไว้ตามเว็บบอร์ดแทน

ตัวอย่างจดหมายลูกโซ่
เรียนท่านผู้โชคดี...
                              ขอให้ท่านนำเรื่องนี้ไปบอกต่อเป็นวิทยาทานท่านจะมีความสุขโชคดีตลอดกาลตำรานี้ใช้แก้โรคมะเร็งจะหายโดยไม่คาดคิดสำหรับมะเร็งภายในถ้าให้รับประทานยานี้จะเห็นผลภายใน 6 วัน ให้ไปซื้อยาที่ร้านขายยาจีนและซื้อ ตัวยาหัวเตย 1 ตำลึง หัวขิง 1 ตำลึง ก้อนเกลือ 2 ช้อน นำมารวมกันแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 วันในน้ำ 1 ชามใช้ดื่มทั้งวันทั้งคืนจนหมดชามหลังจากดื่มยานี้แล้วไม่ควรดื่มน้ำมากนำส่วนที่เหลือมารับประทานยานี้จะขับของเสียทางปัสสาวะหรืออุจาระไม่ต้องตกใจเป็นการขับถ่ายสารพิษและของเสียเมื่อออกหมดแล้วจะหายเป็นปกติตำรานี้ห้ามขายหรือคิดค่ารักษาและอย่าเก็บไว้เป็นส่วนตัวเด็ดขาดให้บอกต่อด้วยศรัทธาและกุศลจิตเมื่อท่านทำตามที่บอกข้างต้นปรากฏสิ่งใดจะมีแต่ความสุขสมหวังทุกประการ คุณนิมิตรเจ้าคุณคณะวัดกลางให้ท่านจงบอกเถิดตัวอย่างเช่น
..จังหวัดชลบุรีไม่ยอมบอกต่อก็ถึงแก่ความตาย
คุณเติมศักดิ์ได้รับจดหมายแล้วส่งต่อไป 29 ฉบับ ท่านถูกรางวัลที่ 1 ถึง 2 ฉบับ
คุณเลิศศรีได้รับจดหมายแล้วส่งต่อไป 29 ฉบับครอบครัวหายป่วยและถูกรางวัลที่ถึง 2 ฉบับและมีความสุขมาก
คุณเสรีกิจสมบัติคุณธีรวัฒน์แสงวิกรได้รับจดหมายนี้แล้วทำตามที่พระครูบอกไว้ปรากฏว่าถูกรางวัลที่ 1 ถึง 3 ครั้ง
คุณวิภาวดีอยู่เฉยๆได้รับแล้วไม่ทำตามน้องชายเป็นผู้ส่งแทนน้องชายถูกรางวัลที่1 ถึง 2 ฉบับ
ถ้าท่านได้รับจดหมายแล้วส่งต่อภายใน 7 วันท่านจะโชคดีมากเช่นท่านพระครูสกลรวมโชคอ่านจบแล้วส่งต่อ 29 ฉบับเขียนและนำส่งไปยังที่ต่างห้ามแจกตามหมู่บ้านเป็นอันขาดตำราผีบอกนี้ปิดซองแล้วส่งต่อแล้วซื้อหวยรัฐบาลเลขอะไรก็ได้ที่ท่านชอบขอให้ท่านโชคดี
พระครูวิจิตธรรมโชติ

        โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนไม่มีความเชื่อเรื่องจดหมายลูกโซ่ ไม่กลัวคำขู่และไม่ส่งจดหมายต่อ เพราะคิดว่าถ้าหากว่าเราได้รับจดหมายแล้วส่งต่อไปให้คนอื่น ถ้าคนที่ได้รับจดหมายไม่เชื่อในเรื่องนี้ก็ดีไปเรื่องทุกอย่างก็จะจบ แต่ถ้าคนที่ได้รับเขาเชื่อแล้วก็กลัวกับคำขู่นั้น เขาก็จะทำทุกอย่างตามที่จดหมายขู่ เขาจะความกังวลไปต่างๆ นาๆ ไม่มีความสุข ซึ่งนั้นก็หมายความว่าคนที่ส่งนั้นแหละบาปมาก เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนอีกหลายๆ คนต้องเป็นทุกข์ แต่กว่าผู้เขียนจะคิดได้แบบนี้ ผู้เขียนก็เคยเกือบตกเป็นเหยื่อของจดหมายลูกโซ่มาแล้วเหมือนกัน เรื่องมีอยู่ว่าสมัยที่ผู้เขียนเรียนอยู่ชั้นม.ต้น ผู้เขียนได้รับจดหมายลูกโซ่มาฉบับหนึ่ง ผู้เขียนกังวลใจและกลัวว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะต้องตาย ผู้เขียนจึงนั่งเขียนจดหมายนั้นหลายฉบับมากจนเมื่อยมือไปหมด ท้อและไม่อยากเขียนต่อไปแล้ว ผู้เขียนเลยแกล้งถามพ่อว่า.....

“พ่อเคยได้รับจดหมายลูกโซ่ไหม”
พ่อ          :               เคย
ผู้เขียน   :               แล้วพ่อทำยังไงกับจดหมายล่ะ
พ่อ          :               โยนทิ้งถังขยะ
ผู้เขียน    :               พ่อไม่กลัวหรอ
พ่อ          :               ไม่กลัว เคยได้มาหลายฉบับแล้ว ไม่เคยทำตามเลย ก็ไม่เห็นจะตายนิ
ผู้เขียน   :               เริ่มมีกำลังใจล่ะ
พ่อ          :               พ่อไม่เชื่อเลยเรื่องบ้าบอแบบนี้ แต่มีเพื่อนพ่อที่ทำงานคนหนึ่ง ได้รับจดหมายลูกโซ่แล้วเขากลัวมาก วันๆ ไม่ทำการทำงานนั่งเขียนแต่จดหมาย เพราะเขากลัวว่าจะเป็นไปตามคำขู่ของจดหมายไง แล้วช่วงนั้นน่ะเป็นช่วงที่จดหมายลูกโซ่กำลังระบาดเลย เขาได้กี่ฉบับๆ เขาก็เขียนแล้วส่งต่อไปเรื่อยเลย พ่อว่าเขาน่าสงสารมากน่ะ คนที่ส่งมาจะรู้บ้างไหมว่าทำให้คนหนึ่งคนไม่เป็นอันทำอะไรเลย กลัวและกังวลไปซะทุกเรื่อง ถ้าลูกได้รับจดหมายมาก็ไม่ต้องกลัวน่ะ ทิ้งไปเลยแล้วคอยดูซิว่าจะเป็นจริงตามที่จดหมายบอกไหม
...................หลังจากจบบทสนทนากับพ่อ ก็ทำให้ผู้เขียนตาสว่างเลยค่ะ เลิกเขียน เลิกเชื่อ เลิกงมงายไปเลยทีเดียว.................



                            สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากจะฝากไว้ว่า อย่าปล่อยให้สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เขามามีอิทธิพลกับตัวเรามากจนเกินไป ในการที่เรารับสื่อเข้ามาทุกๆครั้ง ควรคิด ไตร่ตรอง วิเคราะห์ พิจารณาและควรใช้วิจารณญาณในการติดตามสื่อให้มากๆ เพราะสื่อไม่ได้นำเสนอเรื่องราวความจริงทั้งหมด หรือบางทีอาจจะบิดเบือนความจริงไปเลยก็มี เพราะฉะนั้นควรมีสติ คิดและพิจารณาให้ดีก่อนที่จะเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง






ขอขอบคุณ...

http://forum.herorangers.com/index.php?topic=4759.0

guru.sanook.com

http://board.palungjit.com/f70/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A3-%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-66052.html








วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สิ่งพิมพ์ที่ชื่นชอบ ^^


                        ปัจจุบันนี้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย สะดวก รวดเร็ว และค่าใช่จ่ายน้อย เพราะเป็นยุคแห่งการสื่อสารแบบไร้พรหมแดน ไม่ว่าจะอยู่ไกลกันแค่ไหนก็สามรถติดต่อหากันได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น Social Network อย่างเช่น Facebook , Skype , Line เป็นต้น แต่หลายๆ คนคงมองข้ามการติดต่อสื่อสารที่เคยใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตอย่าง “จดหมาย” แต่ปัจจุบันนี้ความนิยมก็ลดน้อยลงไปตามยุคตามสมัย ถ้าพูดถึงจดหมายเราจะไม่นึกถึง “แสตมป์” ไม่ได้เลย เพราะการจะส่งจดหมายในแต่ละครั้งก็ต้องติดแสตมป์ ถือได้ว่าสองสิ่งนี้จะต้องอยู่คู่กันเลยก็ว่าได้ แสตมป์เป็นของสะสมที่ใครๆ หลายคนชื่นชอบ เพราะแสตมป์ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ติดลงบนจดหมาย เพื่อทำให้จดหมายนั้นส่งไปยังปลายทางได้เท่านั้น แต่แสตมป์นั้นมีคุณค่าและความงามอยู่ในตัว จึงทำให้แสตมป์เป็นสิ่งสะสมยอดนิยมนั้นเอง



                        “แสตมป์” เป็นสิ่งพิมพ์ที่ดิฉันชื่นชอบ เพราะแสตมป์แต่ละดวงที่ผลิตออกมานั้น ล้วนเป็นแสตมป์ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านความงามและด้านการออกแบบ แสตมป์แต่ละประเภทก็มีการออกแบบที่แต่ต่างกัน แสตมป์ทั่วไปอาจมีการออกแบบที่เรียบง่าย สวยงาม และคลาสสิก ส่วนแสตมป์ที่ระลึกจะมีการออกแบบมาให้ดูสวยงามและมีความโดดเด่นกว่าแสตมป์ทั่วไปเพราะแสตมป์ประเภทนี้มีราคาค่อนข้างแพงและคนส่วนใหญ่ซื้อมาเพื่อเก็บสะสมมากกว่าการนำมาติดบนซองจดหมาย แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะแสตมป์ประเภทไหนก็มีความสวยงามให้ตัวทั้งนั้น 


                          บนแสตมป์หนึ่งดวงนั้นมีการออกแบบที่ลงตัวมาก ถึงแม้ว่าแสตมป์จะเป็นเพียงแค่กระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ แต่มีการจัดวางองค์ประกอบต่างๆได้เหมาะสม มีการใส่รูปภาพต่างๆ ชื่อประเทศ และจำนวนเงินได้อย่างลงตัว โดยทั่วไปบนแสตมป์จะพิมพ์รูปภาพต่างๆ ระบุจำนวนเงิน และระบุประเทศ แต่มีประเทศหนึ่งที่ยกเว้นไม่ต้องพิมพ์ชื่อประเทศก็คือประเทศอังกฤษเพราะว่าอังกฤษเป็นประเทศแรกที่มีการพิมพ์แสตมป์ขึ้น เหตุผลที่ดิฉันชอบแสตมป์ที่สุดคือ ตรงขอบของแสตมป์จะเป็นรอยปรุหรือรอยหยัก(เรียกว่า ฟันแสตมป์) ซึ่งฟันแสตมป์นี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของแสตมป์เลยก็ว่าได้ เพราะถ้าเห็นรอยหยักนี้ก็จะรู้เลยว่าเป็นแสตมป์ การปรุรูรอบดวงแสตมป์นั้นไม่ใช้เพื่อความสวยงามอย่างเดียว แต่เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีกอีกด้วย เหตุผลที่ชอบอีกเหตุผลหนึ่งคือ ดิฉันคิดว่าแสตมป์จะมีความสวยงามเพิ่มขึ้นถ้ามีรอยประทับตราของไปรษณีย์อยู่ด้วย

         แสตมป์จะมองกี่ครั้งๆ ก็ยังมีความสวยและมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง ภาพแต่ละภาพที่อยู่บนแสตมป์แสดงให้เห็นถึง ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณี ของประเทศที่ผลิตแสตมป์นั้นๆอีกด้วย         อย่าลืมน่ะค่ะแสตมป์ไม่ใช่เพียงแค่กระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่สามารถทำให้ส่งจดหมายได้เท่านั้น หากเรามองให้ลึกลงไปแล้ว แสตมป์นี้แหละค่ะ มีคุณค่าในทุกๆ ด้านจริงๆ ถ้าผู้อ่านสามารถมองเห็นถึงความงามนั้นได้ เชื่อเลยว่าผู้อ่านจะหลงรักแสตมป์เหมือนผู้เขียนแน่นอนค่ะ


         













ขอบคุณรูปภาพสวยจาก...
http://www.sms1900.com/?p=492
http://www.thaisecondhand.com/product/10186585/
http://www.venusstamps.com/product.detail_392742_th_2490544
http://www.thaistampshop.com/index.php?country=&year=&topic=X
http://www.nationejobs.com/content/newsevents/template.php?newsno=413




วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

...ช๊อบ ชอบ หนังสือเล่มนี้...


“ อิเหนา , จินตะหรา , บุษบา , จรกา ” เป็นตัวละครเอกจากเรื่อง “อิเหนา” ผู้เขียนเชื่อเลยว่าคนส่วนใหญ่จะรู้จักตัวละครเหล่านี้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะเคยเรียนในวิชาภาษาไทยแล้ว “อิเหนา” เคยถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ อีกทั้งยังมีการพิมพ์เป็นหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองอีกด้วย



                    หนังสือบทละครเรื่อง “ร้อยเรียงเรื่องอิเหนา” เล่มนี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่2 เป็นวรรณคดีไทยที่เพียบพร้อมไปด้วยอรรถรสของเนื้อเรื่อง และคุณค่าทางวรรณศิลป์ มีการพรรณนาถึงเรื่องราว ธรรมเนียมประเพณีโบราณ การใช้ถ้อยคำในการบรรยายถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตัวละคร รวมทั้งความงามของธรรมชาติ ศิลปะแขนงต่างๆ ที่ปรากฏตลอดทั้งเรื่อง และยังรวมถึงสัจธรรมแห่งชีวิตอีกด้วย “อิเหนา” เป็นบทละครที่ได้รับความนิยมและได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก ซึ่งหางานประพันธ์เรื่องใดเสมอเหมือนไม่มี หนังสือเล่มนี้จัดทำเป็นฉบับความเรียง เมื่ออ่านเนื้อหาแล้วจะทำให้สนุก เพลิดเพลิน ในหนังสือยังได้นำบทกลอนมาใส่ไว้เป็นช่วงๆ เพื่อให้เห็นถึงความงามทางวรรณศิลป์

                 เหตุผลที่ชอบหนังสือ “ร้อยเรียงเรื่องอิเหนา” มีหลายเหตุผลมากค่ะ สมัยที่เรียนมัธยมปลายในวิชาภาษาไทยต้องเรียนเรื่องอิเหนา แต่ผู้เขียนเรียนไม่รู้เรื่อง อ่านไม่เข้าใจ เพราะหนังสือที่เรียนเป็นหนังสือที่มีแต่บทร้อยกรอง ตอนแรกแค่จะซื้อมาอ่านทำความเข้าใจในบทที่อาจารย์สอนเฉยๆ แต่เมื่อได้ลองอ่านไปเรื่อยๆ ก็เริ่มสนุก เริ่มหลงรักตัวละครต่างๆ ก็เลยอ่านซะจบเล่มเลย ผู้เขียนเป็นคนที่อ่านวรรณคดีหรือนวนิยายแล้วชอบจินตนาการตามที่หนังสื่อบรรยาย หนังสือเล่มนี้บรรยายได้ดีและทำให้ผู้อ่านนึกภาพตามได้เยี่ยมมาก บรรยายได้รู้เลยว่า อิเหนาหล่อและเช้าชู้เพียงใด จินตะหราสวยมากแค่ไหน บุษบามีกลิ่นตัวที่หอมเหมือนดอกไม้จริงไหม แล้วจรกาล่ะ จะมีรูปลักษณ์ที่อัปลักษณ์ยังไง หนังสือสามารถบอกได้ครบถ้วน นอกจากหนังสือเล่มนี้จะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังได้สอดแทรกแง่คิดทางศาสนา และจริยธรรม-จารีตอันดีงามอีกด้วย



แหล่งอ้างอิง
มติธรรม ฟ้านำพร. ร้อยเรียงเรื่องอิเหนา. กรุงเทพฯ : พิมพการ การพิมพ์, 2537


วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

...สื่อการเรียนการสอน...

        ถ้าหากพูดถึงสื่อการสอน คุณผู้อ่านจะนึกถึงสื่อการสอนแบบไหนบ้างค่ะ? แต่สำหรับดิฉันแล้ว ดิฉันจะนึกถึง สื่อที่มีความทันสมัยที่นิยมใช้กันอยู่ให้ปัจจุบัน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI , เครื่องเล่นวีซีดี ดีวีดี+แผ่น , ภาพพยนต์หรือวีดิโอ เป็นต้น เรามัวแต่นึกถึงสื่อที่ทันสมัยจนลืมคิดไปว่าหนังสือ ตำราเรียน ใบความรู้ ก็เป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน แล้วสื่อเหล่านี้ก็ยังเป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนมาตั้งแต่ยุคแรกๆแล้ว ซึ่งสื่อเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ 




สื่อสิ่งพิมพ์ คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุ กระดาษ หรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนาเช่น ผ้า แผ่นพลาสติก
วันนี้ดิฉันจะมาแนะนำสื่อการสอน “นิทาน” นิทานก็จัดอยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์เหมือนกันค่ะ
นิทาน คือเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา มุ่งให้เห็นความบันเทิงแทรก แนวคิด คติสอนใจ จนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ อย่างหนึ่ง นิทานเป็นอาหารทางใจอย่างหนึ่งของมนุษย์ นิทานเป็นแหล่งรวบรวมจินตนาการและความฝัน นิทานเป็นทางออกทางใจของมนุษย์ ทำให้มีความสุขและช่วยผ่อนคลายความทุกข์ในใจได้ อาจเรียกนิทาน พื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง นิทานชาวบ้าน เป็นต้น เเละนิทานเป็นเรื่องที่เล่ากันสืบต่อ ๆ มา ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลังด้วยมุข- ปาฐะ

ประโยชน์ของนิทาน
1.นิทานช่วยสร้างสมาธิให้เด็ก          
ช่วงของการเล่านิทาน เด็กมักจะฟังนิทานอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเล่านิทานที่เหมาะกับของเด็ก เด็กจะเข้าใจและอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป และนี่เป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กอีกวิธีหนึ่
2.นิทานช่วยสร้างเด็กให้มีนิสัยรักการอ่าน
การเล่านิทานหรืออ่านนิทานให้เด็กฟังบ่อยๆ จะเป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ของเด็กทุกมิติ เด็กจะเป็นคนรักการอ่านหนังสือ อ่านหนังสือได้ไว มีสมาธิ
3.นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต
นิทานช่วยให้เด็กเป็นเด็กกล้าถาม เด็กจะมีความมั่นใจ ฉลาด แสดงความคิดเห็นถูกจังหวะ เรียกว่ามีความฉลาดทั้งทางปัญญา( IQ)และฉลาดทางอารมณ์ ( EQ)ด้วย
4.นิทานทำให้เด็กจับประเด็นเก่ง วิเคราะห์เก่ง
การเล่านิทานให้เด็กฟัง เล่าซ้ำๆเด็กจะจำได้ทั้งเรื่อง เด็กจะมองภาพรวมของเรื่อง ทำให้เด็กรู้จักจับประเด็น ย่อความเป็น รู้จักมองสรรพสิ่งเป็นระบบ เข้าใจเรื่องได้อย่างรวดเร็ว
5.นิทานสร้างให้เด็กมีจินตนาการ
ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทานนั้น น้ำเสียงที่เล่าเรื่องนั้นจะกระตุ้นให้เด็กสร้างจินตนาการเป็นภาพ จินตนาการยิ่งใหญ่กว่าความรู้ จินตนาการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆใหม่ๆเกิดขึ้นในโลกของเรานี้ การเล่านิทานบ่อยๆ มากๆเรื่องจึงเป็นการสร้างจินตนาการไปพร้อมๆกับการรับรู้ถึงความใหม่ที่ลูกยังไม่เคยรู้มาก่อน





นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนที่นิยมใช้กันมาก ทั้งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ เพราะนิทานสามารถเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เด็กจะเข้าใจและจดจำได้ง่ายขึ้น
หากครูมีปัญหาในการควบคุมห้องเรียน "นิทาน" เป็นตัวช่วยที่ดีเลยทีเดียวค่ะ เพราะการเล่านิทานสามารถเรียกความสนใจของเด็กๆ ทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นด้วยค่ะ



สุดท้ายนี้น่ะค่ะ มีนิทานสนุกๆมาฝากค่ะ เชิญรับฟังและรับชมได้เลยค่ะ ^^




ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99
http://www.learners.in.th/blogs/posts/309461





วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

" สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 "


         โลกของการศึกษาหมุนเปลี่ยนไปตามกาลและเวลา จนกระทั้งมาถึงยุคของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แน่นอนว่า...แต่ละยุค แต่ละสมัยของการศึกษาต้องมีความแตกต่างกันไป การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 หรือ 19 ก็จะไม่เหมือนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพราะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  จะต้องเน้นที่ learning skill การเรียนรู้ควรเน้นการทำ การเรียนเกิดจากการฟังและการทำ ครูต้องไม่เน้นสอน เน้นออกแบบการเรียนรู้ เน้นสร้างแรงบันดาลใจ เน้นเป็นครูฝึกไม่ใช่ครูสอน  
         ยูเนสโก ได้กำหนดภาระด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21ว่าจะต้องประกอบด้วยสี่เสาหลักที่เป็นรากฐาน ได้แก่ การเรียนรู้ที่จะ "รู้" การเรียนรู้เพื่อจะ "ทำ" การเรียนรู้เพื่อจะ "อยู่ด้วยกัน" การเรียนรู้เพื่อจะ "เปลี่ยนตัวเอง" และการเรียนรู้เพื่อจะ "เปลี่ยนสังคม"  ในศตวรรษที่ 21 การศึกษาต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เพราะสิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดนักการศึกษาที่มีการพัฒนาตัวเอง และยกระดับการศึกษาให้ก้าวหน้าขึ้นไปในขั้นต่อไป
             ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ลักษณะห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 นี้ นักเรียนจะต้องเชื่อมกันเป็นเครือข่ายของการเรียนรู้ ไม่ได้เรียนแบบเดี่ยว เป็นการเรียนจากการแก้ปัญหาไม่ใช่การทำโจทย์ ไม่ปิดกั้นไม่มีพรมแดน ใช้อุปกรณ์ต่างๆได้เต็มที่ ผู้เรียนจะไม่ได้เป็นแค่เพียงนักเรียน แต่จะต้องเป็นคนที่มีส่วนร่วมจริงๆ สิ่งสำคัญในยุคนี้การมีความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอต้องทำให้เป็นด้วย

จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญกับสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะในอนาคตข้างหน้าการเรียนรู้จะเรียนสะดวกสบายมากขึ้น และจะไม่มีข้อจำกัดใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโอกาส เวลา หรือสถานที่ เพราะฉะนั้นสื่อการสอนในยุคนี้จะต้องเป็นสื่อที่ใช้งานง่าย เป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และที่สำคัญจะต้องสามารถตอบสนองในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย



ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ (IPTV: Internet Protocol Television) เป็นอีกสื่อหนึ่งที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพราะระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IPTV) เป็นการนำเทคโนโลยีทั้งทางด้านการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต และการสื่อสารแบบโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ด้วยกัน โดยแพร่ทั้งภาพและเสียง (Multimedia) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับสถานีได้ มีการสื่อสารด้วยกันแบบสองฝ่าย ทั้งทางด้านสถานีและผู้รับชม และผู้เรียน เรียนรู้ตามความต้องการได้มากขึ้น

ปัจจุบันมีสื่อหลายรูปแบบที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึง ข้อมูล ความรู้ ที่ผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดจะถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน โดยผู้สอนจะถ่ายทอกความรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน สื่อโทรทัศน์ก็เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะสื่อโทรทัศน์ที่ให้ทั้งภาพและเสียง สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นมาให้ผู้ดูได้ชม เสมือนหนึ่งได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย โทรทัศน์เป็นสื่อมวลชน จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อถือของผู้คนอย่างมาก และเป็นพลังในการหันเหความคิดและพฤติกรรมของบุคคล นอกจากเราจะรับชมโทรทัศน์ผ่านคลื่นวิทยุแบบปกติแล้ว ปัจจุบันด้วยเพราะเทคโนโลยีมีความทันสมัย สะดวกรวดเร็วขึ้นทำให้เราสามารถรับชม และรับดูโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายบอร์ดแบนด์บนอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ผู้ชมได้มีทางเลือกในการณ์รับชมโทรทัศน์มากขึ้น ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้นอกจากจะใช้โทรทัศน์เพื่อการรับชมสาระและความบันเทิงแล้ว การรับชมโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นสื่อการศึกษาให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี โดยระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IPTV) ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ในให้รับผู้เรียนและใช้เป็นสื่อการสอน (Instruction Media) ช่วยทำให้ผู้ถ่ายทอดหรือผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ได้ตั้งไว้ ถึงแม้ว่าการใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะให้ประโยชน์ในการเรียนการสอนหลายประการ แต่IPTV จะสอนแทนครูนั้นไม่ได้ เพราะIPTV เป็นเพียงเครื่องจักรซึ่งไม่สามารถให้คำแนะนำช่วยชี้แจงและอธิบายได้โดยตรง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีครูเป็นผู้คอยทำหน้าที่ดังกล่าว เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจดียิ่งขึ้น


ข้อดีของIPTV
-   เป็นสิ่งจูงใจให้เกิดการเรียนรู้  เพราะผู้เรียนได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน 
-   ทำให้ผู้เรียนได้เรียนจากผู้ที่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชานั้นจริงๆ   
ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนเนื้อหาเหมือนๆ กันจากครูคนเดียวกัน ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงานครูได้เป็นอย่างมาก
-   เป็นเครื่องมือที่สามารถลดข้อจำกัดและอุปสรรคต่างๆ ได้ เช่น เวลา  ระยะทาง  สถานที่
ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งในการฝึกทักษะ 
มีความทันสมัย ทำให้เกิดความน่าสนใจ และเกิดการเรียนรู้สูง
ใช้บันทึกการสอนไว้ล่วงหน้า และผู้เข้ารับการอบรม สามารถดูบางตอนของเทปโทรทัศน์ซ้ำได้ตามต้องการ
          ข้อจำกัดของIPTV
ผู้เรียนจะต้องมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอาจจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างถ่องแท้
           เห็นไหมล่ะค่ะว่า นับวันๆการศึกษายิ่งก้าวไกลขึ้นไปทุกที ถ้าใครไม่อยากต้องข่าวก็ต้องติดตามข่าวกันหน่อยน่ะค่ะ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วจริงๆ วันนี้ทันสมัยพรุ่งนี้ล้าหลังซะแล้ว เทคโนโลยีมีทั้งด้านดีและด้านเสียขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เองว่าจะนำมาใช้ในทางไหน แต่ถ้านำมาใช้ในการศึกษาต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน

ขอบคุณขอมูลดีๆจาก

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"


นับวันๆ เทคโนโลยีเริ่มจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ในอดีตเทคโนโลยีไม่ค่อยมีบทบาทมากเท่าที่ควร เพราะมีราคาแพงและใช้งานยากแต่ในปัจจุบันทุกอย่างกลับเปลี่ยนไป อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายราคาตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง เราสามารถเลือกซื้อให้เหมาะสมกับรายได้ของเรา เทคโนโลยีสมัยนี้ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ขนาดเด็กเล็กๆยังสามารถใช้งานเป็น นี้จึงเป็นเหตุผลที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์เรา โดยเฉพาะในวงการการศึกษา เทคโนโลยีสามารถช่วยทำให้การเรียนการสอนดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในฐานะที่ผู้เขียนเรียนทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา ผู้เขียนมีความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากฝากค่ะ


                ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มีหน้าที่หลักคือ การให้บริการสื่อเพื่อการศึกษาประเภทต่างๆ การผลิตและการจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อนำมาพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

             

ความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีต่อสถาบันในระดับอุดมศึกษา

1. เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ตามความสนใจของนิสิต นักศึกษา อาจารย์ ตลอกจนบุคลากรทางการศึกษา
2. ผู้สอนใช้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการสอน
3. เป็นแหล่งค้นคว้าและวิจัยเทคนิคการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ
4. เป็นแหล่งให้บริการและอำนวยความสะดวกในด้านการผลิตสื่อสำหรับผู้สอนและผู้เรียน
5. ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ประกอบในการเรียนการสอน
6. เป็นสถานที่คัดสรรคุณภาพของสื่อให้มีมาตรฐานเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน
7. เป็นสถานที่ฝึกอบรม  สัมมนา  และนำเสนอวิทยาการใหม่ๆมาสู่สถาบัน
8. เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรทั้งด้านการใช้และการผลิตสื่อทั้งการเรียนการสอนและการบริหารงานของมหาวิทยาลัย


ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ดีมีประสิทธิภาพ และผู้เขียนแนะนำให้ไปใช้บริการ   คือ...

" สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต "



แนะนำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศกับ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และบุคคลทั่วไปที่ประสงค์เข้ามาสืบค้นและศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง สำนักวิทยบริการได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการองค์ความรู้ และการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษา และได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการ ตลอดเวลา

พัฒนาการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น เกิดจากการรวมตัวของ 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักวิทยบริการ และศูนย์คอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ. 2547 ตามโครงสร้างใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทั้งนี้เพื่อให้มีการรวมงานบริการที่ทำหน้าที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน นำมาสู่การใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด                                           

ทำไมถึงชื่นชอบสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ?


              ดิฉันคิดว่า “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต” เป็นศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เหมาะที่จะเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ เพราะที่นี้มี 3สำนักรวมกันอยู่ในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เดียว คือ สำนักคอมพิวเตอร์ สำนักหอสมุด และสำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งถือว่าสะดวกสบายมาก ไม่ว่าต้องการจะใช้บริการคอมพิวเตอร์ ต้องการจะยืมหนังสือ หรือจะใช้บริการผลิตสื่อต่างๆ สามารมาที่สำนักฯที่เดียวได้ทำทุกอย่างครบถ้วน ถึงแม้ว่าสำนักฯจะเป็นอาคารที่ไม่สูงมากเพราะสร้างอยู่ใกล้เขตพระราชฐานแต่ภายในอาคารอุปกรณ์ทุกอย่างครบครันและไฮเทคมาก ดิฉันเคยเข้าไปที่นี้หนึ่งครั้ง เพราะพี่ของดิฉันเรียนอยู่ที่นี้ ภายในอาคารกว้างขวาง แอร์เย็นสบาย มีที่สำหรับให้นั่งอ่านหนังสืออย่างเพียงพอสำหรับนักศึกษาและบุคคลภายนอก มีความสะดวกในการใช้สอยสื่อประเภทต่างๆมาก แบ่งการทำงานเป็นสัดส่วน แต่สิ่งที่ดิฉันประทับใจมากที่สุดคือ ห้องคอมพิวเตอร์ เพราะมีห้องคอมพิวเตอร์เยอะมากประมาณ 7-8 ห้อง และที่สำคัญมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการด้วย

แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม http://www.arit.dusit.ac.th