วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

===Techno Show Case===


                      "Techno Show Case" ก้าวล้ำทางการศึกษา” เป็นชื่องานนิทรรศการที่พวกเราชาวเทคโนโลยีสื่อสาร         การศึกษาจัดขึ้น ใครจะไปเชื่อละคะว่างานใหญ่ๆ แบบนี้นิสิตอย่างเราจะสามารถจัดขึ้นได้ ขอบอกว่าจัดขึ้นได้ดีมากด้วย
มีผู้เข้าชมนิทรรศการของพวกเรากว่า 1,000 คน เลยทีเดียว ที่งานสำเร็จไปได้ด้วยดีนั้นก็เป็นเพราะพวกเราชาวเทคโนฯ ร่วมมือร่วมใจกัน และที่ขาดไม่ได้เลยคือมีที่ปรึกษาที่ดีอย่างท่านอาจารย์นัทธีรัตน์ งานของเราจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 สิงหา ที่ผ่านมาค่ะ จัดขึ้นที่ชั้น 1 อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยในงานแบ่งออกเป็น 8 บูธ ประกอบด้วย
              1. Do you hear me? ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุเพื่อการศึกษา
              2. Tech for teach ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนการสอน
              3. Around the world ให้ความรู้เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียกับการศึกษา
              4. Away so far ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนทางไกล
              5. X – ploring tech for fun ให้ความรู้เกี่ยวกับเกมส์การศึกษา
              6. Read me please ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์
              7. See snap ให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพ
              8. Now you see me ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

                            วันนี้จะขอพูดถึงบูธRead me please อย่างเดียวนะคะ เหตุผลเพราะผู้เขียนประจำอยู่ที่บูธนี้ค่ะ 
   บูธ Read me please มีผู้ดูแลอยู่ 5 คน คือ แอน เนส พลีม ปอย และผู้เขียนค่ะ ภายในบูธของเราจะให้ความรู้เกี่ยวกับ
สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ประวัติของสิ่งพิมพ์ กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ฯลฯ 
กิจกรรมภายในบูธก็จะมีการWorkshopการออกแบบหน้าปกนิตยสาร การสอนพับกระดาษตามขนาดต่างๆ (สำหรับ
ผู้ที่เข้าร่วม Workshopการออกแบบหน้าปกนิตยสาร เรามีหนังสือนวนิยายและหนังสือนวนิยายแปลแจกเป็นของรางวัลด้วยนะ) ซึ่งกิจกรรมทุกกิจกรรมได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมบูธเป็นอย่างดีคะ จุดเด่นของบูธเราอีกอย่างที่จะไม่พูดถึง
ไม่ได้ คือ เรามีการจัดแสดงผลงานของนิสิตเอกเทคโนฯ เยอะแยะมากมาย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือนิทาน โปสเตอร์ หนังสือให้ความรู้ต่างๆ และที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมมากที่สุดคือ นิตยสาร มีแต่คนชื่นชมว่าทำนิตยสารออกมา
ได้สวยเหมือนที่วางขายตามท้องตลาดเลย ได้ยินอย่างนี้พวกเราก็ยิ้มแก้มปริแล้วค่ะ ^_^


                        เล่าถึงความรู้สึกบ้างดีกว่า แรกๆ ก็เครียดนะ คิดไม่ออกว่างานจะออกมาเป็นแบบไหน? จะมีคนเข้ามาดูไหม? ที่สำคัญกลัวว่าจะทำไม่ได้ แต่พอได้ฟังที่อาจารย์พูดบ้าง เพื่อนพูดบ้าง ก็พอจะนึกภาพของงานออกว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน ส่วนบรรยากาศการทำงานในกลุ่ม สนุกดีคะ ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เหนื่อยนะ แต่เห็นงานออกมาดีและประสบความสำเร็จพวกเราก็มีความสุขและเกิดความภาคภูมิใจ จะมีใครเชื่อว่าพวกเราจะจัดงานใหญ่ๆ แบบนี้ได้  สุดท้ายท้ายสุดต้องขอบคุณอาจารย์ที่เป็นคนริเริ่มให้พวกเราได้จัดงานนี้ขึ้น เพราะพวกเราได้รับประสบการณ์ที่ล้ำค่าจริงๆ ประสบการณ์เหล่านี้หาไม่ได้จากในตำราเรียนแน่นอนค่ะ




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

::::: พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก :::::


               เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก"มาค่ะ ไม่ได้ไปเที่ยวเล่นเฉยๆ นะคะ 
ไปค้นคว้าหาความรู้เพื่อที่จะมานำเสนอให้อาจารย์และเพื่อนๆ ได้ชมกัน ซึ่งการไปศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้              
เราไปกันทั้งหมด 5 คน ประกอบไปด้วย เฟิร์น บอเบีย ปอนด์ เมท และผู้เขียนเองค่ะ



                          ก่อนอื่นขอเล่าประวัติคร่าวๆ ของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกให้รับทราบกันก่อนนะคะ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก มีอีกชื่อหนึ่งว่าพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก ซึ่งเจ้าของคืออาจารย์ วราพร สุรวดี ซึ่งได้รับมรดกมาจากคุณแม่(นางสอาง สุรวดี) อาจารย์วราพรได้มอบบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน ให้เป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร เพื่อที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ให้ความรู้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกจะมีการจัดแสดงของใช้ต่างๆ ภายในอาคาร 3 หลัง ซึ่งสิ่งที่จัดแสดงนั้นสามารถบอกเล่า เรื่องราวเกี่ยวกับ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งข้าวของเครื่องใช้ที่นำมาแสดงส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่เจ้าของบ้านได้ใช้งานจริง



                   ความรู้สึกแรกตอนที่เข้าไปในรั้วของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รับรู้ได้ถึงความร่มรื่น เย็นสบาย มีลมพัดมาเป็นระยะ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าพิพิธภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพราะบรรยากาศดีมาก อาคารบ้านเรือนก็ยังคงสภาพเดิมอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ก็ยังคงวางไว้เหมือนเดิมแต่ที่แตกต่างไปก็คือความเก่าที่เป็นไปตามกาลเวลา ภายในอาคารแต่ละหลังบอกเล่าเรื่องราวภายในอดีตให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้มองเห็นภาพว่าในอดีตชาวกรุงเทพฯ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร เหมือนเราสามารถย้อนเวลาไปอยู่ในยุคนั้นจริงๆ  ในการไปชมพิพิธภัณฑ์ในครั้งนี้ได้รู้ภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนเยอะมาก เช่น การนำตะไคร้มาวางไว้ในตู้หนังสือเพื่อไม่ให้มด แมลง ปลวก มากัดกินหนังสือ การใช้เหรียญรูมาซ้อมกระจกที่แตกแล้วให้กลับมายึดติดกันเหมือนเดิม เป็นต้น ทุกอย่างล้วนเป็นตัวตนของคนบางกอกจริงๆ ขอบคุณท่านอาจารย์วราพรเป็นอย่างสูงที่อนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้ให้พวกเราได้ชมและศึกษาหาความรู้ ผู้เขียนยังนึกไม่ออกเลยว่าถ้าหากอาจารย์วราพร   ไม่อนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้  เยาวชนคนรุ่นหลังจะศึกษาหาความรู้จากที่ไหนได้ เพราะมองไปรอบๆ ข้าง ก็มีแต่ตึกสูงขึ้นเต็ม  ไปหมด ไม่มีสิ่งใดที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของบางกอกได้เลย 


                    ก่อนจะจบขอทิ้งท้ายไว้สั้นๆ ว่า พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเป็นแห่งที่บอกเล่าเรื่องราวของความเป็นคนไทย
(ชาวบางกอก)ได้ดีเลยจริงๆ อย่างให้ทุกคนได้เข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศเหล่านี้ แล้วคุณจะรู้ว่าชาวบางกอกสมัยก่อนมีชีวิตที่ศิวิไลกว่าชาวกรุงเทพฯสมัยนี้แน่นอนค่ะ




................รายละเอียดเพิ่มเติม..................
พิพิธภัณชาวบางกอกตั้งอยู่ที่... บ้านเลขที่ 273  ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง  เขตบางรัก  กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 234 6741 , 02 233 7027







แหล่งข้อมูล...






(((...Online exhibition...)))


               ออนไลน์ ออนไลน์ ออนไลน์ ! ทุกคนคงได้ยินคำคำนี้จนชินแล้วใช่ไหมค่ะ? ทั้งซื้อของออนไลน์ เรียนออนไลน์ เล่นเกมส์ออนไลน์ อะไรๆ ก็ออนไลน์ไปเกือบจะทุกอย่าง แน่นอนว่าเราคงหนีไม่พ้นหรอกค่ะ เพราะยุคนี้         เป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวไกลแบบไร้ขีดจำกัดจริงๆ เพียงแค่คุณมีอินเตอร์เน็ตนั่งหน้าคอมพิวเตอร์มือคลิกเม้าส์เท่านี้             คุณก็สามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้แล้ว ซึ่งถือว่ามีความสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของวัน เวลาและสถานที่         เกริ่นนำยาวเกินไปแล้ว ว ว... เข้าเรื่องเลยก็แล้วกันคะ วันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึง “นิทรรศการออนไลน์” หลายท่าน               คงสงสัยว่า...อุ๊ย! มีด้วยหรอนิทรรศการออนไลน์? ขอตอบเลยคะว่า “มี” และมีมานานแล้วด้วย

                    นิทรรศการออนไลน์ คือ การจำลอง หรือการจัดแสดงเนื้อหาสาระความรู้ ผลงานต่างๆ ในรูปแบบของนิทรรศการผ่านทางเว็บไซค์  โดยในการนำเสนอข้อมูลนั้นอาจจะนำเสนอเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้                     
ซึ่งนิทรรศการออนไลน์ถือว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเป็นสื่อผสม ที่ใช้วิธีการนำเอาเนื้อหาสาระ         
มานำเสนอไว้ให้ผู้ชมได้รับชมเพื่อสร้างทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน 

                     จากข้อความข้างต้น ผู้อ่านอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่านิทรรศการออนไลน์เป็นอย่างไรกันแน่ เอาอย่างนี้            ก็แล้วกันคะ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างนิทรรศการออนไลน์หนึ่งนิทรรศการก็แล้วกันคะ เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน นิทรรศการออนไลน์ที่จะนำเสนอคือ “นิทรรศการออนไลน์เรื่องอัญมณีแห่งท้องทะเล” จัดทำโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ



                                                            ตัวอย่างนิทรรศการออนไลน์เรื่อง "อัญมณีแห่งท้องทะเล"


                        นิทรรศการออนไลน์เรื่องอัญมณีแห่งท้องทะเล เป็นการนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหอย เริ่มตั้งแต่วิวัฒนาการของหอย ชีวิตความเป็นอยู่ของหอย เปลือกหอย เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหอย ซึ่งถือได้ว่าให้ข้อมูลความรู้ได้
ครบถ้วนและสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ง่าย การออกแบบนิทรรศการก็ดูน่าสนใจ สามารถดึงดูดให้คนเข้ามาชม
ได้เป็นอย่างดี มีการจำลองภาพเคลื่อนไหวให้เปรียบเสมือนได้นั่งอยู่ที่ทะเลจริงๆ ภาพประกอบทุกภาพสวยงามและ
สมจริง จุดเด่นอีกจุดหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ เวลาคลิกเปลี่ยนหัวข้อต่างๆ จะมีคลื่นพร้อมเสียงคลื่นพัดพาความรู้
มานำเสนอให้ผู้ชมได้อ่านกัน (เข้าชมนิทรรศการออนไลน์เรื่องอัญมณีแห่งท้องทะเลแบบเต็มรูปแบบได้ที่  http://www.nsm.or.th/nsm2008/E-exhibition/shell/index.html)
 
                    ท้ายนี้อยากฝากให้ผู้อ่านทุกท่านเข้ามาอ่านนิทรรศการออนไลน์กันให้มากๆ เพราะในนิทรรศการออนไลน์
ยังมีเนื้อหาสาระที่รอให้ทุกท่านเข้าไปเรียนรู้อีกมากมาย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน วัน เวลาอะไร เพียงแค่คุณมีอินเตอร์เน็ตคุณก็สามารถเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการออนไลน์ได้แล้วค่ะ
 












แหล่งที่มา....

http://www.gotoknow.org/posts/237781

http://www.nsm.or.th/nsm2008/E-exhibition/shell/index.html