สิ่งพิมพ์นี้เป็นโปสเตอร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการประกวดโปสเตอร์รณรงค์สวมหมวกนิรภัยในเด็ก ปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของ นางสาวจิภัทรา นุ่มประสพ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผลงานชื่อ “ไม่สวมเท่ากับเสี่ยง” การประกวดนี้ จัดโดย บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย ร่วมกับ ชมรมคนห่วงหัว ซึ่งผลงานได้รับการคัดสรรจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ทั้งด้านศิลปะ ด้านความปลอดภัยในเด็ก และด้านหมวกนิรภัย
สำหรับการออกแบบของโปสเตอร์ชิ้นนี้ ถือว่าออกแบบตามหลักการออกแบบโปสเตอร์ที่ดีเลยก็ว่าได้ “ทุกคนคงสงสัยว่า โปสเตอร์นี้ก็ดูธรรมดาๆ ดียังไง สวยยังไงใช่ไหมค่ะ?” ผู้เขียนมีคำตอบค่ะ เรามาร่วมกันวิเคราะห์การออกแบบโปสเตอร์อันนี้กันค่ะ เริ่มจาก “ภาพ” ก่อนเลยค่ะ ภาพเป็นภาพที่จำลองมาจากของจริง เมื่อมองแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที (ไม่เหมือนกับภาพ ประเภท abstract ถ้าคนดูไม่มีความรู้ทางด้านศิลปะชั้นสูง ก็ไม่สามารถดูให้เข้าใจได้) ภาพที่นำมาใส่ในโปสเตอร์นี้ เด่น สะดุดตา น่าสนใจและสามารถสื่อความหมายได้ดี “ตัวอักษร” ตัวอักษรโดดเด่น ชัดเจน อ่านง่าย มีระยะห่างของตัวอักษรที่สม่ำเสมอ สีของตัวอักษรไม่กลืนกับสีพื้น ( สีที่ดีที่สุดของตัวอักษรสำหรับโปสเตอร์ที่จะทำให้เห็นได้ชัดและอ่านได้ง่าย คือตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง... “โปสเตอร์นี้ตอบโจทย์ได้ตรงจุดเลยค่ะ”) ข้อความเป็นข้อความสั้นๆ แต่ได้ใจความ “สีของโปสเตอร์” ใช้สีตัดกันได้ดีค่ะ สีพื้นเป็นสีเหลืองตัดกับสีแดงที่เป็นเลือด เมื่อมองดูแล้วทำให้ภาพดูเด่นขึ้นมาก
จากการที่ผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้อ่านคงพอเข้าใจแล้วใช่ไหมค่ะว่า ทำไม โปสเตอร์ธรรมดาๆ นี้ ถึงได้รับรางวัลชนะเลิศ คำตอบง่ายๆ คือ โปสเตอร์นี้ออกแบบตามหลักการออกแบบไงค่ะ โปสเตอร์ถึงออกมาดูดี ดูเหมาะสมไปทุกส่วน
อย่าลืมน่ะค่ะว่า
การออกแบบโปสเตอร์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นั้นควรออกแบบตามหลักการการออกแบบ
องค์ประกอบต่างๆ จะได้ออกมาเหมาะสมและน่ามองมากที่สุด หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมออกแบบตามที่ตัวเองชอบโดยไม่ต้องอิงหลักการออกแบบไม่ได้ล่ะ คำตอบคือ ทำได้ค่ะ แต่ระวัง! คนมองข้างผลงานของคุณก็แล้วกันค่ะ เดี๋ยวจะหาว่าผู้เขียนไม่เตือนน่ะค่ะ :P
ขอขอบคุณ.....
http://pr.rmutr.ac.th/wp301/?p=3159